การสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) เป็นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีแนวการศึกษาที่น่าสนใจ และนักวิชาการรวมถึงครูอาจารย์มากมายนำรูปแบบนี้มาใช้ในการเรียนการสอน มีรูปแบบที่ผสมผสานการนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาการสอนในห้องเรียนให้มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ทำให้ผู้สอนมีเวลาพูดคุยและเอาใจใส่นักเรียนมากขึ้น แทนที่ในการใช้เวลาไปกับการสอนหนังสือเพียงอย่างเดียว ห้องเรียนกลับด้าน มีรูปแบบที่ใกล้เคียงกับการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงที่ผ่านมาซึ่งมีข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ
1. ผู้เรียนเรียนรู้และค้นคว้าด้วยตนเองผ่านวิดีโอการสอนแบบออนไลน์จากที่บ้าน สามารถพูดคุยกับนักเรียนคนอื่น หรือถามคำถามผู้สอนผ่านระบบออนไลน์
2. เปลี่ยนบ้านเป็นห้องเรียนกิจกรรม ผู้เรียนและผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน พูดคุย แสดงความคิดเห็น ทำงานกลุ่ม สอบถาม ทำกิจกรรมร่วมกัน ฯลฯ โดยผู้สอนมีหน้าที่กำกับดูแลนักเรียน ตอบคำถาม และทำให้บทสนทนาหรือกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปในทิศทางที่วางแผนไว้
ก่อนการสอน
1. วางแผน ออกแบบแผนการสอน โดยคิดโครงร่างผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ที่ต้องการเห็นให้ห้องเรียนกลับด้าน
2. บันทึก ผู้สอนบันทึกการสอนของตัวเองเป็นวิดีโอ โดยต้องมีการตรวจสอบและมั่นใจว่าเนื้อหาที่สอนไปนั้นมีความถูกต้อง เนื้อหาสาระที่สำคัญครบถ้วนสมบูรณ์
3. แชร์ ส่งวิดีโอการสอนให้ผู้เรียน โดยอธิบายว่า เนื้อหาที่ให้ดูนั้นจะนำมาพูดคุยหรือต่อยอดให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น หรือในกรณีที่ผู้เรียนในห้องเรียน
4. แลกเปลี่ยน เมื่อผู้เรียนได้ดูบทเรียนผ่านวิดีโอการสอนแล้ว พวกเขาก็พร้อมที่จะเรียนรู้เนื้อหาที่ยากและลึกกว่าเดิม
5. แบ่งกลุ่ม การเรียนรู้โดยการแบ่งกลุ่ม เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ได้ดีที่สุด เพราะว่าจะมีการพูดคุยกันภายในกลุ่ม การปรึกษากัน ทำให้สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายจากครูผู้สอนได้
6. รวมกลุ่มอีกครั้ง เรียกผู้เรียนมารวมกัน ให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มเสนอความคิดเห็นต่องานที่ตัวเองทำว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร โดยครูผู้สอนมีหน้าที่คอยแนะนำและถามคำถามต่าง ๆกับผู้เรียน
หลังจบการสอน
1. ทบทวน มีการตรวจสอบสิ่งที่สอนไป
2. ปรับแก้ เมื่อพบข้อบกพร่องของการจัดการเรียนการสอน ให้นำมาแก้ไขหรือพัฒนาให้ดีขึ้น
3. ทำซ้ำ ผู้สอนตรวจพบข้อบกพร่อง และนำมาแก้ไข ตามขั้นตอนเดิมยิ่งช่วยให้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น